วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
มงคลสูตรคำฉันท์
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ- สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา อ่านเพิ่มเติม
เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
๑.ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน อ่านเพิ่มเติม
อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
๒.๑ ความเป็นมา
๒.๒ ประวัติผู้แต่ง
๒.๓ ลักษณะคำประพันธ์
๒.๔ เรื่องย่อ
๒.๕ เนื้อเรื่อง
๒.๖ คำศัพท์
๒.๗ บทวิเคราะห์
ความเป็นมา
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล คือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง อิเหนา แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา
สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ
ประวัติผู้แต่ง
อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก
ลักษณะคำประพันธ์
บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”
บทอาขยาน
บทหลัก
นมัสการมาตาปิตุคุณ
นมัสการอาจริยคุณ
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
ลิลิตเลงพ่าย
มหาเวชสันดรชาตก กัณฑ์มัทรี
กาพย์เห่เรือ ตอน เห่ชมเรือกระบวน
สามัคคีเภทคำฉันท์
นมัสการอาจริยคุณ
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
ลิลิตเลงพ่าย
มหาเวชสันดรชาตก กัณฑ์มัทรี
กาพย์เห่เรือ ตอน เห่ชมเรือกระบวน
สามัคคีเภทคำฉันท์
บทเลือก
มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก
มหาชาติ เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก อ่านเพิ่มเติม
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย
เนื้อหาของ นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์
(ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้
โคลงบทที่ 2 กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปจากการเสียกรุง แต่ก็มีเมืองล่องลอยมาจากสวรรค์อันมีพระที่นั่งสถูปแก้วอันสวย งามด้วยบุญบารมีที่สั่งสมของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญ รุ่งเรือง เปิดทางให้บ้านเมืองไปสู่ความดีงามและยังฟื้นเมืองให้ตื่นจากการหลับใหล หลังจากการเสียกรุง
โคลง บทที่ 3 ความรุ่งเรืองของศาสนานั้นมีมากไปทั่วยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ ผู้คนได้รับพระธรรมจากการฟังธรรมอยู่เป็น ประจำเจดีย์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นสูงตระหง่านฟ้ายอดเจดีย์สวยงามยิ่งกว่าแสงนพเก้าเสมือนเป็นหลักแห่งโลกและเป็นที่มหัศจรรย์แห่งสรวงสวรรค์
โคลงบทที่ 4 โบสถ์วิหารระเบียงธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้นกว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์หอพระไตรปิฎกเสียงระฆังในหอระฆังยามพลและแสงตะเกียงจากโคมแก้วอันมากมายนั้นสามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง
โคลงบทที่ 8 เมื่อจำต้องจากนางอันเป็นที่รักไปด้วยความอาลัยเหมือนกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปกับนางถ้าหากว่าดวงใจสามารถแบ่งออกได้ก็จะผ่าออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งจะเก็บไว้กับตนเอง แต่อีกซีกหนึ่งจะมองให้นางรักษาไว้
โคลงบทที่ 10 จะฝากนางไว้กับฟากฟ้าหรือผืนดินดีเพราะกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมาลอบเชยชมนางจะฝากนางไว้กับสายลมช่วยพัดพานางบินหนีไปบนฟ้าแต่ก็กลัวลมพัดทำให้ผิวนางมีรอยช้ำ
โคลงบทที่ 11 จะฝากนางไว้กับใครดีจะฝากนางไว้กับนางอุมาหรือชายาพระนารายณ์ก็เกรงว่าจะเข้าใกล้ชิดนางพี่คิดจนสามโลกจะล่วงลับไปก็คิดได้ว่าจะฝากนางไว้ในใจตนเองดีกว่าฝากไว้กับคนอื่น
โคลงบทที่ 22 เดินทางมาโดยทางน้ำล่วงหน้ามาจนถึงตำบลบางยี่เรือขอให้เรือแผงช่วยพานางมาด้วย แต่บางยี่เรือไม่รับคำขอน้ำตาพี่จึงไหลนอง
โคลงบทที่ 37 เดินทางต่อไปจนถึงตำบลบางพ่อซึ่งน้ำแห้งเหือดจนมองไม่เห็นมีแต่บ่อน้ำตาที่คงเต็มไปด้วยเลือดพี่ก็อยากให้นางผู้มีความงาม5ประการมาซับน้ำตาพี่แล้วค่อยจากไป
โคลงบทที่ 41 เห็นต้นจากแตกกิ่งก้านสลับกับต้นระกำทำให้ชอกช้ำระกำใจว่าเคยเป็นเวรกรรมที่คงเคยทำกันมาทำให้เราต้องจากกัน ไกลขอให้ครั้งหน้าเราคงได้อยู่ด้วยกัน
โคลงบทที่ 45 เป็นการเปรียบเทียบของหน้านางกับดวงจันทร์ แต่ดวงจันทร์มีรอยตำหนิเป็นรอยกระต่าย แต่ใบหน้าของน้องนางสวยงามไม่มีตำหนิไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบ เพราะหน้าของน้องงามกว่าดวงจันทร์ ยิ่งมองยิ่งงามกว่านางฟ้า
โคลงบทที่ 118 เดินทางมาถึงตระนาวศรีความโศกเศร้าก็กระหน่ำซ้ำเติมเข้ามาความโศกเศร้าที่จากนางาไม่ว่าจะเดินผ่านทุ่งนา ป่า ท้องน้ำ หรือสถานที่ใดไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ก็สามารถสังความไปถึงน้ำได้ตลอด
โคลงบทที่ 122 ไม่ว่าจะเป็นพระอินทร์ผู้มีพันตาผู้เฝ้าดูระวังโลกพระพรหมผู้มีสี่หน้าแปดหูที่คอยฟังสรรพเสียงใดๆหรือจะเป็นพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่หลังนาค เมื่อเราทั้งสองต้องพลัดพรากจากกัน เราสองคร่ำครวญอยู่ซ้ำซากแต่เทพพระองค์ก็ไม่สนใจ
บทที่ 139 ในอกของพี่นั้นมันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากจะระบายยออกมาบรรยายให้น้องได้ทราบความรู้สึกของพี่นั้นมากมาย ดังนั้น พี่จึงเอาเขาพระสุเมรุมาเป็นปากกา เอามหาสมุทรเป็นน้ำหมึก แล้วเขียนเป็นตัวหนังสือไนอากาศเป็นแผ่นกระดาษ จารึกลงไปก็ยังไม่พอเพราะความรู้สึกของพี่นั้นมีมาก ผู้เลอโฉมลงมาจากฟ้าจะรับรุ้ความรู้สึกในใจของพี่หรือไม่
บทที่ 140 ภูเขาพังทลาย สวรรค์ 6 ชั้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จะหายไปจากโลก ความรักของพี่นั้นก็ไม่หาย ถึงไฟมาผลาญล้างทวีปทั้ง4 ก้ไม่สามารถล้างความอาลัยของพี่ได้
บทที่ 141 พี่ได้คร่ำครวญถึงความรักของพี่จนสั่นกึกก้องทั้งแผ่นดิน และท้องฟ้า เป็นข้อความที่บรรยายถึงความโศกเศร้าของพี่ ข้อความเหล่านั้นขอให้น้องรับไว้เป็นต่างหน้า ให้นึกถึงอดีตระหว่างเรา
(ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้
โคลงบทที่ 2 กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปจากการเสียกรุง แต่ก็มีเมืองล่องลอยมาจากสวรรค์อันมีพระที่นั่งสถูปแก้วอันสวย งามด้วยบุญบารมีที่สั่งสมของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญ รุ่งเรือง เปิดทางให้บ้านเมืองไปสู่ความดีงามและยังฟื้นเมืองให้ตื่นจากการหลับใหล หลังจากการเสียกรุง
โคลง บทที่ 3 ความรุ่งเรืองของศาสนานั้นมีมากไปทั่วยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ ผู้คนได้รับพระธรรมจากการฟังธรรมอยู่เป็น ประจำเจดีย์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นสูงตระหง่านฟ้ายอดเจดีย์สวยงามยิ่งกว่าแสงนพเก้าเสมือนเป็นหลักแห่งโลกและเป็นที่มหัศจรรย์แห่งสรวงสวรรค์
โคลงบทที่ 4 โบสถ์วิหารระเบียงธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้นกว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์หอพระไตรปิฎกเสียงระฆังในหอระฆังยามพลและแสงตะเกียงจากโคมแก้วอันมากมายนั้นสามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง
โคลงบทที่ 8 เมื่อจำต้องจากนางอันเป็นที่รักไปด้วยความอาลัยเหมือนกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปกับนางถ้าหากว่าดวงใจสามารถแบ่งออกได้ก็จะผ่าออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งจะเก็บไว้กับตนเอง แต่อีกซีกหนึ่งจะมองให้นางรักษาไว้
โคลงบทที่ 10 จะฝากนางไว้กับฟากฟ้าหรือผืนดินดีเพราะกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมาลอบเชยชมนางจะฝากนางไว้กับสายลมช่วยพัดพานางบินหนีไปบนฟ้าแต่ก็กลัวลมพัดทำให้ผิวนางมีรอยช้ำ
โคลงบทที่ 11 จะฝากนางไว้กับใครดีจะฝากนางไว้กับนางอุมาหรือชายาพระนารายณ์ก็เกรงว่าจะเข้าใกล้ชิดนางพี่คิดจนสามโลกจะล่วงลับไปก็คิดได้ว่าจะฝากนางไว้ในใจตนเองดีกว่าฝากไว้กับคนอื่น
โคลงบทที่ 22 เดินทางมาโดยทางน้ำล่วงหน้ามาจนถึงตำบลบางยี่เรือขอให้เรือแผงช่วยพานางมาด้วย แต่บางยี่เรือไม่รับคำขอน้ำตาพี่จึงไหลนอง
โคลงบทที่ 37 เดินทางต่อไปจนถึงตำบลบางพ่อซึ่งน้ำแห้งเหือดจนมองไม่เห็นมีแต่บ่อน้ำตาที่คงเต็มไปด้วยเลือดพี่ก็อยากให้นางผู้มีความงาม5ประการมาซับน้ำตาพี่แล้วค่อยจากไป
โคลงบทที่ 41 เห็นต้นจากแตกกิ่งก้านสลับกับต้นระกำทำให้ชอกช้ำระกำใจว่าเคยเป็นเวรกรรมที่คงเคยทำกันมาทำให้เราต้องจากกัน ไกลขอให้ครั้งหน้าเราคงได้อยู่ด้วยกัน
โคลงบทที่ 45 เป็นการเปรียบเทียบของหน้านางกับดวงจันทร์ แต่ดวงจันทร์มีรอยตำหนิเป็นรอยกระต่าย แต่ใบหน้าของน้องนางสวยงามไม่มีตำหนิไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบ เพราะหน้าของน้องงามกว่าดวงจันทร์ ยิ่งมองยิ่งงามกว่านางฟ้า
โคลงบทที่ 118 เดินทางมาถึงตระนาวศรีความโศกเศร้าก็กระหน่ำซ้ำเติมเข้ามาความโศกเศร้าที่จากนางาไม่ว่าจะเดินผ่านทุ่งนา ป่า ท้องน้ำ หรือสถานที่ใดไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ก็สามารถสังความไปถึงน้ำได้ตลอด
โคลงบทที่ 122 ไม่ว่าจะเป็นพระอินทร์ผู้มีพันตาผู้เฝ้าดูระวังโลกพระพรหมผู้มีสี่หน้าแปดหูที่คอยฟังสรรพเสียงใดๆหรือจะเป็นพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่หลังนาค เมื่อเราทั้งสองต้องพลัดพรากจากกัน เราสองคร่ำครวญอยู่ซ้ำซากแต่เทพพระองค์ก็ไม่สนใจ
บทที่ 139 ในอกของพี่นั้นมันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากจะระบายยออกมาบรรยายให้น้องได้ทราบความรู้สึกของพี่นั้นมากมาย ดังนั้น พี่จึงเอาเขาพระสุเมรุมาเป็นปากกา เอามหาสมุทรเป็นน้ำหมึก แล้วเขียนเป็นตัวหนังสือไนอากาศเป็นแผ่นกระดาษ จารึกลงไปก็ยังไม่พอเพราะความรู้สึกของพี่นั้นมีมาก ผู้เลอโฉมลงมาจากฟ้าจะรับรุ้ความรู้สึกในใจของพี่หรือไม่
บทที่ 140 ภูเขาพังทลาย สวรรค์ 6 ชั้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จะหายไปจากโลก ความรักของพี่นั้นก็ไม่หาย ถึงไฟมาผลาญล้างทวีปทั้ง4 ก้ไม่สามารถล้างความอาลัยของพี่ได้
บทที่ 141 พี่ได้คร่ำครวญถึงความรักของพี่จนสั่นกึกก้องทั้งแผ่นดิน และท้องฟ้า เป็นข้อความที่บรรยายถึงความโศกเศร้าของพี่ ข้อความเหล่านั้นขอให้น้องรับไว้เป็นต่างหน้า ให้นึกถึงอดีตระหว่างเรา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)