วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มงคลสูตรคำฉันท์


มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย อ่านเพิ่มเติม

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ- สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา อ่านเพิ่มเติม

เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม

.ความเป็นมา
       หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ดุสิตสมิต เมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน อ่านเพิ่มเติม

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
  ๒.๑ ความเป็นมา
  ๒.๒ ประวัติผู้แต่ง
  ๒.๓ ลักษณะคำประพันธ์
   ๒.๔ เรื่องย่อ
  ๒.๕ เนื้อเรื่อง
   ๒.๖ คำศัพท์
   ๒.๗ บทวิเคราะห์

ความเป็นมา
           อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
        ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
       เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี  พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา  แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา
       สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ

ประวัติผู้แต่ง
        อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCOในฐานะบุคคลสำคัญของโลก
ลักษณะคำประพันธ์
     บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น” “บัดนั้น และ มาจะกล่าวบทไป

บทอาขยาน


กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายกำหนดให้มีการท่องอาขยาน อย่างจริงจังในสถานศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา2542 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ของการท่องอาขยาน เพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าของภาษาไทย และให้ซาบซึ้งในความไพเราะของบทร้อยกรอง เป็นพื้นฐานในการแต่งคำประพันธ์ สื่อในการถ่ายทอดคุณธรรม คติธรรม และข้อคิดที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชน ส่งเสริมให้มีจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของคนในชาติ

http://www.baanjomyut.com/library_3/bulet4.gif บทหลัก
http://www.baanjomyut.com/library_3/bulet4.gif บทเลือก

มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก

มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก อ่านเพิ่มเติม

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย

   เนื้อหาของ นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์
(ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้
    โคลงบทที่ กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปจากการเสียกรุง แต่ก็มีเมืองล่องลอยมาจากสวรรค์อันมีพระที่นั่งสถูปแก้วอันสวย งามด้วยบุญบารมีที่สั่งสมของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญ รุ่งเรือง เปิดทางให้บ้านเมืองไปสู่ความดีงามและยังฟื้นเมืองให้ตื่นจากการหลับใหล หลังจากการเสียกรุง
    โคลง บทที่ ความรุ่งเรืองของศาสนานั้นมีมากไปทั่วยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ ผู้คนได้รับพระธรรมจากการฟังธรรมอยู่เป็น ประจำเจดีย์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นสูงตระหง่านฟ้ายอดเจดีย์สวยงามยิ่งกว่าแสงนพเก้าเสมือนเป็นหลักแห่งโลกและเป็นที่มหัศจรรย์แห่งสรวงสวรรค์
    โคลงบทที่ โบสถ์วิหารระเบียงธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้นกว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์หอพระไตรปิฎกเสียงระฆังในหอระฆังยามพลและแสงตะเกียงจากโคมแก้วอันมากมายนั้นสามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง
     โคลงบทที่ เมื่อจำต้องจากนางอันเป็นที่รักไปด้วยความอาลัยเหมือนกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปกับนางถ้าหากว่าดวงใจสามารถแบ่งออกได้ก็จะผ่าออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งจะเก็บไว้กับตนเอง แต่อีกซีกหนึ่งจะมองให้นางรักษาไว้
    โคลงบทที่ 10 จะฝากนางไว้กับฟากฟ้าหรือผืนดินดีเพราะกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมาลอบเชยชมนางจะฝากนางไว้กับสายลมช่วยพัดพานางบินหนีไปบนฟ้าแต่ก็กลัวลมพัดทำให้ผิวนางมีรอยช้ำ
    โคลงบทที่ 11 จะฝากนางไว้กับใครดีจะฝากนางไว้กับนางอุมาหรือชายาพระนารายณ์ก็เกรงว่าจะเข้าใกล้ชิดนางพี่คิดจนสามโลกจะล่วงลับไปก็คิดได้ว่าจะฝากนางไว้ในใจตนเองดีกว่าฝากไว้กับคนอื่น
    โคลงบทที่ 22 เดินทางมาโดยทางน้ำล่วงหน้ามาจนถึงตำบลบางยี่เรือขอให้เรือแผงช่วยพานางมาด้วย แต่บางยี่เรือไม่รับคำขอน้ำตาพี่จึงไหลนอง
    โคลงบทที่ 37 เดินทางต่อไปจนถึงตำบลบางพ่อซึ่งน้ำแห้งเหือดจนมองไม่เห็นมีแต่บ่อน้ำตาที่คงเต็มไปด้วยเลือดพี่ก็อยากให้นางผู้มีความงาม5ประการมาซับน้ำตาพี่แล้วค่อยจากไป
    โคลงบทที่ 41 เห็นต้นจากแตกกิ่งก้านสลับกับต้นระกำทำให้ชอกช้ำระกำใจว่าเคยเป็นเวรกรรมที่คงเคยทำกันมาทำให้เราต้องจากกัน ไกลขอให้ครั้งหน้าเราคงได้อยู่ด้วยกัน
    โคลงบทที่ 45 เป็นการเปรียบเทียบของหน้านางกับดวงจันทร์ แต่ดวงจันทร์มีรอยตำหนิเป็นรอยกระต่าย แต่ใบหน้าของน้องนางสวยงามไม่มีตำหนิไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบ เพราะหน้าของน้องงามกว่าดวงจันทร์ ยิ่งมองยิ่งงามกว่านางฟ้า
    โคลงบทที่ 118 เดินทางมาถึงตระนาวศรีความโศกเศร้าก็กระหน่ำซ้ำเติมเข้ามาความโศกเศร้าที่จากนางาไม่ว่าจะเดินผ่านทุ่งนา ป่า ท้องน้ำ หรือสถานที่ใดไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ก็สามารถสังความไปถึงน้ำได้ตลอด
    โคลงบทที่ 122 ไม่ว่าจะเป็นพระอินทร์ผู้มีพันตาผู้เฝ้าดูระวังโลกพระพรหมผู้มีสี่หน้าแปดหูที่คอยฟังสรรพเสียงใดๆหรือจะเป็นพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่หลังนาค เมื่อเราทั้งสองต้องพลัดพรากจากกัน เราสองคร่ำครวญอยู่ซ้ำซากแต่เทพพระองค์ก็ไม่สนใจ
    บทที่ 139 ในอกของพี่นั้นมันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากจะระบายยออกมาบรรยายให้น้องได้ทราบความรู้สึกของพี่นั้นมากมาย ดังนั้น พี่จึงเอาเขาพระสุเมรุมาเป็นปากกา  เอามหาสมุทรเป็นน้ำหมึก แล้วเขียนเป็นตัวหนังสือไนอากาศเป็นแผ่นกระดาษ จารึกลงไปก็ยังไม่พอเพราะความรู้สึกของพี่นั้นมีมาก ผู้เลอโฉมลงมาจากฟ้าจะรับรุ้ความรู้สึกในใจของพี่หรือไม่
    บทที่ 140 ภูเขาพังทลาย สวรรค์ ชั้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จะหายไปจากโลก ความรักของพี่นั้นก็ไม่หาย ถึงไฟมาผลาญล้างทวีปทั้งก้ไม่สามารถล้างความอาลัยของพี่ได้
    บทที่ 141 พี่ได้คร่ำครวญถึงความรักของพี่จนสั่นกึกก้องทั้งแผ่นดิน และท้องฟ้า เป็นข้อความที่บรรยายถึงความโศกเศร้าของพี่ ข้อความเหล่านั้นขอให้น้องรับไว้เป็นต่างหน้า  ให้นึกถึงอดีตระหว่างเรา